วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

แหล่งท่องเที่ยวจ.เชียงราย

ภาพประกอบ พระตำหนักดอยตุง
พระตำหนักดอยตุง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า "บ้านที่ดอยตุง" วัตถุประสงค์แรกทั้งรัฐบาล ข้าราชบริพารตั้งใจให้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานแทนที่จะเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แต่สำหรับพระองค์ท่านแล้ว หากว่าไม่มีโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ไม่มีงานถวายให้ทรง ไม่เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่

ในตอนแรก กรมป่าไม้ ต้องการน้อมเกล้าฯถวาย พื้นที่ที่จะสร้างพระตำหนักแต่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่ทรงรับ เนื่องจากเป็นเขตป่าสงวน ไม่ต้องพระราชประสงค์ที่จะมีอภิสิทธิ์เหนือประชาชนคนไทยทั่วไป

พระตำหนักดอยตุง สร้างจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ด้านนอกก่อสร้างด้วยคอนกรีตตกแต่งด้วยปีกไม้ ซึ่งเป็นไม้สักขนาดเล็กได้จากการทอนไม้ที่ไม่ได้ขนาดในสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อให้ไม้สักที่เหลือเจริญเติบโตแข็งแรง ได้ใช้ประโยชน์ต่อไปภายในพระตำหนักบุผนังด้วยไม้สน จากลังไม้ที่ใส่เครื่องมือและอุปกรณ์ขนาดใหญ่ ส่วนพื้นเป็นไม้สักทองที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้น้อมเกล้าฯถวายการสร้างพระตำหนักจึงเป็นตัวอย่างของการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อใช้ของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ตัวอาคารชั้นบนแยกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ส่วนท้องพระโรงและห้องประกอบพระกระยาหาร ส่วนที่พักของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ ส่วนที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

การตกแต่งภายในเป็นไปอย่างเรียบง่าย สง่างาม เน้นประโยชน์ใช้สอยอย่างพอดี สะท้อนลักษณะอุปนิสัยของ เจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี

ลักษณะเด่นของพระตำหนัก คือ เพดานท้องพระโรง ที่แกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆที่สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนีทรงเลือก และ ตรงกลางสลักเป็นกลุ่มดาวในสุริยะจักรวาลเรียงตามองศาในวันที่ 21 ตุลาคม 2443 ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ และฝังดวงไฟให้กำลังแสงตามขนาดที่ได้สัดส่วนตามจริง โดยการคำนวณ และออกแบบโดยสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จฯ มาประทับที่พระตำหนักดอยตุงเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 10เดือนจากวันที่เริ่มก่อสร้าง พระตำหนักยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี หลังจากนั้นพระองค์เสด็จฯ มาประทับทรงงานที่พระตำหนักดอยตุงอีก 5 ครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาหลายเดือน

บทความที่1

วันที่ 9 กันยายน 2552ได้ส้างบล็อกของตัวเอง